อาชีพผู้สื่อข่าว/นักข่าว
"อาชีพผู้ประกาศข่าว เป็นอาชีพที่มีควาท้าทายตัวเองตลอดเวลา มีงานให้เราทำมากมาย ส่วนใหญ่ก็ต้องลงพื้นที่จริง เพื่อนำเสนอข่าวที่ทันต่อโลก เราก็ต้องคอยฟังคำชี้แนะของพวกพี่ๆ เพราะงานที่เราทำเป็นงานที่ต้องนำเสนอสดๆ หากเราทำผิดพลาดไปอาจทำให้งานของพี่ๆ เสียหายได้ ฉะนั้นอาชีพผู้ประกาศข่าวเป็นงานที่ต้องทำโดยใช้สติรอบคอบตลอดเวลา ต้องทำให้งานเราเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด แต่ก็สนุกไม่แพ้อาชีพอื่นๆ"
ลักษณะงานของอาชีพ
ผู้ประกาศข่าวนั้นไม่ใช่อาชีพที่เพียงอ่านข่าวอยู่ในโทรทัศน์ให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวที่เป็นไปในโลกใบนี้เท่านั้น
แต่แท้จริงแล้ว ยังต้องทำงานเบื้องหลังอีกมากมาย ด้วยการเตรียมเนื้อหาข่าว
ออกสัมภาษณ์ทำข่าวภาคสนาม สรุปข่าวและรายละเอียด
จากนั้นนำมารายงานข่าวในรายการข่าวทางโทรทัศน์
เป็นงานที่ต้องใช้ความพยายามมาต่อสู้กับความท้าทาย อย่างไม่ธรรมดา
1. พูดคุย ซักถามกับพี่ๆ ต้นแบบ รวมถึงสังเกตการทำงานของพี่ๆ
เพื่อเรียนรู้การทำงานในสำนักข่าว เช่น การเตรียมเนื้อหาข่าว สรุปข่าว
การออกอากาศรายการข่าว ฯลฯ
2. ติดตามทีมนักข่าวลงภาคสนามเพื่อเรียนรู้กระบวนการการให้ได้มาซึ่งข่าว
รวมถึงอาจจะได้ช่วยงานในภาคสนาม
3. รับผิดชอบแบบฝึกหัด
หรือภาระงานในออฟฟิศตามที่ได้รับมอบหมาย
บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้
- ควรมีความสนใจความเคลื่อนไหวของข่าวสารทั่วโลก เป็นนักสังเกตการณ์ที่สามารถเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ และสามารถสื่อสารรายงานข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้องและเแม่นยำ
- ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีความอดทน ระมัดระวังและรอบคอบ สุขุม
- ทำงานเป็นทีมได้พร้อมปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบสูงต่อทั้งแหล่งข่าว และต่อวิชาชีพ
- สามารถทำงานให้ลุล่วงตามหน้าที่รับผิดชอบให้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากกว่าบุคลากรในอาชีพอื่น ๆ
- มีความกล้าในการปฏิบัติการ หรือการนำเสนอข่าว ที่บางครั้งอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
- สามารถถ่ายภาพและใช้อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารได้ทุกชนิด
- มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างถ่องแท้
ผลตอบแทน
ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในองค์กรสื่อสารมวลชนของรัฐบาลจะได้รับค่าจ้างอัตราตามวุฒิการศึกษา ส่วนองค์กรสื่อมวลชนภาคเอกชน ค่าตอบแทน สวัสดิการสูง เนื่องจากมีชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่าผู้สื่อข่าวในหน่วยงานของรัฐ
ผู้สื่อข่าวสื่อมวลชนในสื่อของเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนขั้นต่ำประมาณ 15,000 บาท ไม่รวมค่ายานพาหนะประจำเดือนเดือนละประมาณ 2,000 - 4,000 บาท เพราะมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าผู้สื่อข่าวขององค์กรสื่อสารมวลชนในความดูแลของรัฐ สามารถเบิกค่าเลี้ยงรับรอง ค่าใช้จ่ายในการหาซื้อและค้นคว้าหาข้อมูล โดยจะพิจารณาเพิ่มเงินเดือนขึ้นไปเรื่อยๆตามความสามารถและประสบการณ์ หากเป็นทั้งนักข่าว และผู้ประกาศข่าวด้วยก็จะได้เงินพิเศษจากการอ่านข่าวนั้นเป็นรายเทป นอกเหนือจากสวัสดิการที่ได้รับตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรกำหนด นักข่าวอิสระจะต้องมีประสบการณ์และคอนเนคชั่นมากอย่างน้อย 3 ปี และจะได้ค่าตอบแทนการเขียนข่าวเรื่องละประมาณ 2,000 ถึง10,000 บาท ตามความสำคัญและความยากง่ายของข่าว ระยะเวลาทำงานของผู้สื่อข่าวไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความจำเป็นที่ต้องหาข่าว จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้สื่อข่าวต้องทำงาน 24 ชั่วโมง เงินอาจจะไม่ได้เยอะจนสามารถกอบโกยได้ แต่ก็สามารถเลี้ยงตัวและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่อาชีพนักข่าวนั้นเป็นอาชีพที่มีคุณค่าทางใจ เรารู้สึกดีตอนที่ข่าวของเราได้ทำอะไรเพื่อสังคมได้บ้าง
กว่าจะมาเป็นวันนักข่าว
วันที่ครั้งหนึ่งบุคคลที่อยู่ในวิชาชีพข่าวสาร เคยถกเถียงกันอย่างคร่ำเคร่งพอสมควรว่า?เราควรให้ความสำคัญ หรือไม่ให้ความสำคัญ?
กลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรให้ความสำคัญ ให้เหตุผลว่า เพราะนักข่าวควรเป็นบุคคลที่ถ่อมตัว สมถะ ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประชาชน เพื่อชุมชนและเพื่อประเทศชาติ โดยไม่ควรเรียกร้องอะไรมากนัก ถ้าเรายังมีวันนักข่าว ก็แปลว่าเรายกตัวเองเหนือคนอื่น ถึงขนาดประกาศให้มีวันพิเศษขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในอดีต เคยกำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย ดูจะเป็นการให้ความสำคัญจนเกินเหตุไป ในทางที่ถูก เราควรใช้ชีวิตอย่างธรรมดาๆ ทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งเหมือนกันทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันของบุคคลในอาชีพนี้
แต่กลุ่มที่เห็นว่าควรให้ความสำคัญ ก็เถียงว่า เหตุที่อยากให้มีวันนักข่าว และเน้นให้เห็นความสำคัญของวันนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อตัวนักข่าวเท่านั้น สิ่งที่ต้องการคือการยํ้าให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้นคือ ผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ใช้ปากกาและใช้หน้ากระดาษแสดงความคิดความเห็นแทนประชาชนว่าอย่างนั้น เถิด การมีวันนักข่าวจึงเท่ากับการมีอะไรสักอย่าง ที่เป็นเครื่องเตือนใจนักข่าวทั้งหลายให้ระมัดระวังตัวเอง ไม่เอาสิทธิของประชาชนไปใช้ผิดๆ หรือทำผิดๆจนกลายเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโดยความคึกคะนอง ทุกครั้งที่สื่อมวลชนติติง วิพากษ์วิจารณ์ใคร จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอๆว่า เรากำลังวิจารณ์แทนประชาชน มิใช่วิจารณ์ตามอำเภอใจ หรือตามแต่ใจเรา ดังนั้นถ้าเรามีวันนักข่าวพร้อมกับกำหนดกิจกรรมให้วันนี้ เป็นวันที่มีความหมายในทางสบัติหน้าที่ และจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมในที่สุด
หลังจากที่แสดงความคิดเห็นกันอยู่ระยะหนึ่ง ผลก็ออกมาในลักษณะพบกันครึ่งทางดังจะเห็นได้ว่าในห้วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ วันนักข่าวค่อยๆแปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่เคยกำหนดให้วันนักข่าวเป็นวันหยุดของนักข่าวทั้งหลายก็เลิกล้มไป ปัจจุบันนี้ วันนักข่าว เป็นวันทำงาน (อย่างเต็มที่) ของหนังสือพิมพ์ทุกๆฉบับ มิใช่วันหยุดสำหรับการออกไปพักผ่อน เฮฮา ดังเช่นในอดีต
ความสำคัญของนักข่าว

ปัจจุบันข่าวสารข้อมูลกำลังกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่ความจำเป็นดังกล่าวไม่ใช่เพียงเนื้อหาของข่าวแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวก็มีความสำคัญ ในฐานะคนกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนไปยังผู้ อ่านด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบคนทำข่าวเฉกเช่นกระจกสะท้อนสังคมก็คงไม่ผิดอะไรนัก เพียงแต่ควรจะสะท้อนทุกด้านอย่าสะท้อนเพียงด้านเดียวเท่านั้น
ในแวดวงหนังสือพิมพ์มีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวว่า ฐานันดร 4 ความหมายโดยนัยคือ ผู้มีสถานะแตกต่างจากบุคคลอื่นตามธรรมดาทั่วไป หรือแปลความหมายในลักษณะผู้มีอภิสิทธิ์ในการขีด เขียน เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางสื่อมวลชน
เรียนคณะไหนก็เป็นนักข่าวได้ค.. แต่หากอยากได้แบบครบสูตรตั้งแต่การฝึกเขียนข่าว ไปจนถึงฝึกจรรยาบรรณความเป็นนักข่าว ต้องคณะเหล่านี้เลยครับ.. นิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน หรือวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ฯลฯ ซึ่งคณะเหล่านี้นอกจากจะเน้นด้านการสื่อสารแล้ว ยังสอนด้านการถ่ายภาพ กราฟิก และการออกแบบเติมเข้าไปอีกด้วย..